เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม ให้แก่นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ กับพวกรวม 6 คน จากกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่รื้อถอนเผาทําลายสิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
สรุปประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
1.ไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อํานาจของ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติอุทยาน แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ในการรื้อถอนเผาทําลาย สิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีทั้งหก จึงเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทําดังกล่าว และเป็นการใช้อํานาจเกินความจําเป็นไม่สมควรแก่เหต
2. เป็นครั้งแรกที่ศาลกล่าวถึงมติ ครม. เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้้นฟู วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยมีการกล่าวในตอนหนึ่งของคำพิพากษาว่า
” รวมถึงไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็น สาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ตลอดจนไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟู วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ในส่วนของการจัดการทรัพยากรที่ให้ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ข้อพิพาทเรื่องที่ทํากินในพื้นที่ดั้งเดิม ”
ทั้งนี้ จะมีผลให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องปฏิตามแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชชาวกะเหรี่ยงด้วยหรือไม่นั้นเราต้องติดตามกันต่อไปในอนาคต
3 ศาลปกครองสูงสุกแก้คำตัดสินกรณีค่าชดเชยชาวบ้านทั้ง 6 คน จากที่ชดเชยคนละ 10,000 บาท เป็นพิจารณารายบุคคลอยู่ระหว่าง 40,000-50,000 บาทตามลำดับ
ดังปรากฎในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังนี้ว่า
“พิพากษาแก้คําพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นเป็น ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเงิน ๕๑,๔๐๗ บาท ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ เป็นเงิน ๕๑,๐๓๒ บาท ผู้ฟ้องคดีที่ ๓ เป็นเงิน ๕๑,๔๐๗ บาท ผู้ฟ้องคดีที่ ๔ เป็นเงิน ๔๕,๓๐๒ บาท ผู้ฟ้องคดีที่ ๕ เป็นเงิน ๕๐,๘๐๗ บาท และผู้ฟ้องคดีที่ ๖ เปนเงิน ๕๑,๐๓๒ บาท หากผู้ฟ้องคดีรายใดได้รับ ่าสินไหมทดแทนสําหรับสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินกรณีนี้ไปแล้วให้หักออกจากค่าสินไหม ทดแทนตามคําพิพากษานี้ ทั้งนี้ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษา นอกจากที่แก้ให้ เป็นไปตามคําพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น”
4 ไม่ได้มีการกล่าวถึงกรณีที่ชาวบ้านทั้ง 6 ราย ขอให้ศาลพิจารณาว่าพวกเขาสามารถกลับเข้าไปอยู่ในพื้นที่เดิมได้หรือไม่
สามารถดาวน์โหลดคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดได้ที่นี่