สกน. แถลงการณ์ยืนหยัดปฎิรูปที่ดินโดยชุมชน เนื่องในงานมหกรรม”โฉนดชุมชน” 18ปี แห่งการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน
แถลงการณ์สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) “ ประกาศเจตนารม […]
แถลงการณ์สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) “ ประกาศเจตนารม […]
หลังจาก Land watch ได้ทยอยเผยแพร่ รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการ “ศึกษาไร่หมุนเวียนของกะเหรี่ยงเพื่อเสนอเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หรือ The study on Karen’s rotational farming for the domination of Intangible Cultural Heritage ซึ่งศึกษาโดย กฤษฎา บุญชัย, พรพนา ก๊วยเจริญ และคณะ โดยเป็นงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์ เมื่อมกราคม 2557
โดยเป็นการทยอยลงที่ละบททีละตอน ครบทั้ง 8 ตอน ไปเมื่อกลางเดือนตุลาคม 2561 โอกาสนี้เว็บมาสเตอร์ขอนำลิงค์ทั้งหมด 8 ตอน มารวบรวมเพื่อการสืบค้น
ตอนที่ ๘ บทสรุปสังเคราะห์และข้อเสนอเชิงนโยบาย ตอนสุดท้ายสำหรับงานชิ้นนี้
การปรับตัวของชุมชนต่อความเปลี่ยนแปลงที่มากระทบกับระบบการทำไร่หมุนเวียนเกิดขึ้นในทุกชุมชนกรณีศึกษา แม้แต่ในระบบไร่หมุนเวียนเอง ทั้งนี้ ด้านหนึ่งก็เพื่อดำรงรักษาระบบไร่หมุนเวียนเอาไว้ ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการปรับตัวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งตามกระแสเศรษฐกิจ และแรงกดดันจากนโยบายการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของรัฐ
การดำรงอยู่ของระบบไร่หมุนเวียนทั้งในปัจจุบันและในอนาคตจึงไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับระบบการผลิตการเกษตรอื่นๆ รวมถึงระบบเศรษฐกิจแบบอื่น และยังเข้าไปอยู่ในกระแสความเคลื่อนไหวต่อรองทางการเมืองในเรื่องการจัดการป่าไม้และที่ดิน นอกจากนั้น สภาพที่ตั้งชุมชน ลักษณะทางภูมิประเทศ ความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจน ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ปัจจัยต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนมีส่วนสำคัญต่อการปรับตัวของแต่ละชุมชนในระดับที่มากน้อยแตกต่างกันไป
ทางเพจ Land watch เคยได้เผยแพร่เนื้อหาชวนคิดเกี่ยวกับชีวิตของปู่คออี้กับข้อเท็จจริงประวัติศาสตร์การเมืองของป่าไม้และที่ดินของประเทศไทย เนื่องในวาระที่ปู่คออี้ได้กลับคืนสู่ธรรมชาติในวันนี้ ทางเพจ Land watch จึงขอนำเนื้อหาดังกล่าวมาเผยแพร่สู่สังคมไทยจะได้ตระหนักถึงเรื่องราวความอยุติธรรม การต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนในวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณี เพื่อคารวาลัยแก่ปู่ คออี้ มิมี ณ โอกาสนี้